โรงเรียนอนุบาลท่าวุ้งเดิมชื่อโรงเรียนวัดวิหารขาวก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๕พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยนายอำเภอท่าวุ้งเปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.๑-ป.๔ โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดวิหารขาวเป็นสถานที่เรียนต่อจากนั้นได้มีการพัฒนาเป็นลำดับดังนี้
คณะกรรมการได้ร่วมกันซื้อที่ดินจำนวน ๑๑ ไร่ ๑ งาน ๔๔ ตารางวา ให้เป็นที่สร้างโรงเรียน ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๔๘๗ ได้โอนที่ดินให้สาธารณะประโยชน์สร้างทางหลวงสายลพบุรี – สิงห์บุรี จำนวน ๒ ไร่ ๖๔ ตารางวา
วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๔๙๔ สร้างอาคารเรียนหลังแรก ๒ ชั้นใต้ถุนสูง ๒ เมตร เสาคอนกรีตต่อด้วยไม้หลังคามุงสังกะสี ๘ ห้องเรียนและได้ย้ายจากศาลาการเปรียญมาเรียนที่อาคารหลังแรก
วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๑๓ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอีก ๑ หลังแบบป ๑ ฉ ใต้ถุนสูง ๒ เมตร หลังคามุงสังกะสี ๓ ห้องเรียน
พ.ศ ๒๕๑๔ ได้รับงบประมาณรื้อถอนอาคาร ๒ ชั้น นำมาสร้างอาคารแบบ ป.๑ ฉ.ชั้นเดียว ๖ ห้องเรียนเชื่อมต่อกับอาคาร ๓ ห้องเรียน
พ.ศ ๒๕๑๙ ได้รับงบประมาณสร้างส้วม ๑ หลัง ๓ ที่นั่ง
พ.ศ ๒๕๒๒ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารแบบ ป.๑ ฉ. ใต้ถุนสูง ๔ ห้องเรียน (ต่อมามอบให้ใช้เป็น สปอ.ท่าวุ้ง) ต่อมา ส.ส. สวัสดิ์ วงศ์กวีและส.ส. บัญญัติ วงษ์ประยูร ได้ร่วมกับคณะครูผู้ปกครอง ทำการ ถมดินบริเวณสนามของโรงเรียนแต่ยังไม่เสร็จจนกระทั่งปี ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงได้รับงบประมาณจากกรม พลศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จเรียบร้อย
พ.ศ. ๒๕๒๖ พระครูวิธานนวกิจ เจ้าอาวาสวัดวิหารขาว ได้ร่วมกับคณะครูจัดหาเงินสร้างห้องสมุดโรงเรียนแบบทรงไทยกว้าง ๑๕ เมตรยาว ๑๗ เมตรหลังคามุงกระเบื้อง พื้นคอนกรีตจำนวน ๑ หลัง ราคา ๓๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับงบประมาณ ๓๔๐,๐๐๐ บาทสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบ สปช. ๒๐๓/๒๖ ๑ หลังและส้วมแบบ สปช. ๑ หลัง ๔ ที่นั่ง แต่หาผู้รับจ้างไม่ได้ เนื่องจากวัสดุมีราคาแพงคณะครูและกรรมการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน จึงช่วยกันสละทรัพย์สมทบอีกจำนวน ๖๕,๓๘๐ บาท อาคารอเนกประสงค์และส้วมจึงทำการก่อสร้างได้แล้วเสร็จ
ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับงบประมาณสร้างถังน้ำฝนแบบ ฝ.๓๐ พิเศษ ๔ ถังราคา ๓๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับงบประมาณสร้างถังน้ำฝนแบบ ฝ.๓๐ พิเศษอีก ๔ ถัง ราคา ๓๐,๖๐๐ บาท และได้รับงบประมาณสร้างรั้วถาวร ๓ ด้าน คือ ด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้ เป็นเงิน ๑๘๙,๔๐๐ บาท คณะครูผู้ปกครองนักเรียนร่วมบริจาคสมทบอีก ๑๔๓,๗๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ สปช. ๒/๒๘ ๓ ชั้น ๑๕ ห้องเรียน ราคา ๔,๘๐๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ สส.บุญทรง วงศ์กวี ได้จัดสรรงบประมาณจัดทำถนนคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง ๔ เมตร ยาว ๘๐ เมตรหนา ๐.๑๕ เมตร เป็นเงิน ๑๑๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สส.บุญทรง วงศ์กวี ได้จัดสรรงบประมาณถมดินบริเวณโรงเรียน (กั้นรั้วโรงเรียน) เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท และซื้อเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยแคร่ยาว ๑๘ นิ้ว ๑ เครื่อง เป็นเงิน ๘,๖๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ สส.บุญทรง วงศ์กวี ได้จัดสรรงบประมาณสร้างถังน้ำฝนแบบ ฝ. ๓๓ และเครื่องสูบน้ำแบบจุ่มเป็นเงิน ๗,๘๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับงบประมาณจาก สปช. สร้างส้วม ๑ หลัง ๔ ที่นั่ง เป็นเงิน ๙๐,๐๐๐ บาทและส.ส.บุญชู วังกานนท์ ได้จัดสรรงบประมาณถมดินสนามโรงเรียนอีก ๖๐,๐๐๐ บาท
เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม๒๕๔๑ โรงเรียนวัดวิหารขาวได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอนุบาลท่าวุ้ง ตามนโยบายพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษาเป็นโรงเรียนในเครือข่าย สหวิทยาเขตมหามงคลของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้ทำการต่อเติมอาคารอเนกประสงค์แบบ สปช. ๒๐๓/๒๖ เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาทจากการทอดผ้าป่าของคณะครูคณะกรรมการศึกษาและผู้ปกครอง
พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับงบแปรญัตติของสส.ลพบุรีจำนวน ๑,๘๖๙,๗๘๐ บาท (หนึ่งล้านแปดแสดหกหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยแปดสิบบาท) ปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์แบบ ๒๐๓/๒๖ เป็นห้องประชุมติดเครื่องปรับอากาศโดยแบ่งเป็น ค่าปรับปรุงอาคาร ๙๙๖,๑๘๐ บาท และค่าครุภัณฑ์ ๘๗๓,๖๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับงบประมาณโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลเป็นเงิน ๑,๗๙๗,๒๐๐ (หนึ่งล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาท) ได้ดำเนินการเป็นค่าก่อสร้าง ๓ รายการได้แก่ สร้างรั้วด้านทิศตะวันตกความยาว ๑๓๐ เมตร ๒๗๓,๐๐๐ บาท ลานกีฬาหน้าอาคาร ๒/๒๘ ราคา ๑๓๔,๑๐๐ บาทและสร้างโรงอาหารแบบสปช. ๒๐๓/๒๖ ราคา ๖๒๕,๗๐๐ บาท โดยได้ทำการย้ายอาคารโรงฝึกงานเพื่อใช้พื้นที่สร้างโรงอาหารด้วยเงินบริจาคเป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท และได้รับอนุญาตให้จำหน่ายถังน้ำฝน ๑ ชุด ๓ ถัง
และในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ระหว่างวันที่ ๒๗ กันยายนถึงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายนได้เกิดอุทกภัย ทำให้มีน้ำท่วมบริเวณโรงเรียนและอาคารเรียนชั้นล่างทุกหลังได้รับความเสียหาย เมื่อน้ำแห้งกลุ่มบริษัทในเครือ เบทาโกร ได้มอบงบประมาณทาสีอาคารเรียนสปช. ๒/๒๘ และรั้วโรงเรียนเป็นเงินจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท และได้รับงบประมาณจากทางราชการฟื้นฟูโรงเรียนอีก ๑,๑๔๔,๐๐๐ บาท ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้ทำการก่อสร้างหลังคากันแดด(โดม) ๑ หลังขนาดกว้าง ๑๖ เมตรยาว ๒๘ เมตรราคา ๘๐๐,๐๐๐ บาท โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ และได้ทำการจำหน่ายอาคารเรียน แบบ ป.๑ ฉ ๔ ห้องเรียน (อาคาร สปอ.เดิม) และบ้านพักครูของศูนย์บ้านพักครูอีก๘ หลัง โดยการขายทอดตลาด สพป.ลบ. ๑ เป็นผู้ดำเนินการ
ปัจจุบันโรงเรียนอนุบาลท่าวุ้ง เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนรวม ๒๖๖ คนข้าราชการครู ๑๒ คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษเรียนรวม ๑ คน ครูธุรการ ๑ คน ลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งนักการภารโรง ๑ คน มีผู้บริหารมาดำรงตำแหน่งตามลำดับดังนี้
๑. นายไว เมืองอ่ำ พ.ศ. ๒๔๖๖ – ๒๔๖๗
๒. นายสง่า เกตุพงษ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๔๗๐
๓. นายเขียน สุขประสงค์ พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๑
๔. นายจันทร์ นิ่มเกิด พ.ศ. ๒๔๗๑ – ๒๔๘๖
๕. นายศิริ บุญแสน พ.ศ. ๒๔๘๖ – ๒๔๘๗
๖. นายชิต วงศ์สุคนธ์ พ.ศ ๒๔๘๗ – ๒๕๐๒
๗. นางอุดมลักษณ์ แสงวิโรจน์ พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๖
๘. นายซ้อน ทองหล่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๐๙
๙. นางอุดมลักษณ์ แสงวิโรจน์ พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๒๙
๑๐. นายมีชัย แสงวิโรจน์ พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๓๕
๑๑. นายพงษ์ศิลป์ พาณิชย์กุล พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๔๔
๑๒. นายทัพชัย แย้มชุมพร พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๕๐
๑๓. นายเกษม เขียวสะอาด พ.ศ. ๒๕๕๐ ถึง ๒๕๖๒
๑๔. นายวิชัย ม่วงจีน พ.ศ. ๒๕๖๒ – เป็นต้นมา